วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ


สรุปบทที่ 7

        การตัดสินใจของผู้บริหารมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ความมั่นคง และพัฒนาการององค์การ เนื่องจากผู้บริหารจะต้องตัดสินใจจัดสรรทรัพยากรขององค์การที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งาน ตลอดจนต้องตัดสินใจแก้ปัญหาความขัดแย้งทั้งภายในและภายนอกองค์การ ที่เราจะเห็นความสำคัญได้จากงานวิจัยด้านการจัดการที่ให้ความสนใจศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจของผู้บริหารตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมา ซึ่งเราสามารถแบ่งการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์การได้เป็น 3 ระดับคือ การตัดสินใจระดับกลยุทธ์การติดสินใจระดับยุทธวิธี และการตัดสินใจระดับปฏิบัติการ

        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือที่เรียกว่า DSS เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง อย่างไรก็ดี ปกติ DSS จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้หริหารที่ใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตน เราสามารถจำแนกส่วนประกอบของ DSS ออกเป็น 4 ส่วนดังต่อไปนี้

        1. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องการ DSS แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ อุปกรณ์ประมวลผล อุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์แสดงผล

        2. ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ฐานข้อมูล ฐานแบบจำลองและชุดคำสั่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

        3. ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกส่วนของ DSS ไม่ว่า DSS จะประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยและได้รับการออกแบบระบบการทำงานได้สอดคล้องกันมากเพียงใด แต่ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการประมวลผลไม่มีคุณภาพเพียงพอแล้ว DSS ก็จะไม่สามารถช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม หรืออาจจะสร้างปัญหาในการติดสินใจได้

        4. บุคลากรจะเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การพัฒนา การออกแบบ และการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ โดยี่เราสามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ DSS ออกเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนระบบ DSS

        ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม หรือที่เรียกว่า GDSS เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม GDSS

สำหรับกลุ่มประกอบด้วยอุปกรณ์ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ ห้องประชุม ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เพื่อให้การประสานงานภายในกลุ่มมีประสิทธิภาพ โดยที่อุปกรณ์แต่ละประเภทจะถูกออกแบบและดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนี้ GDSS ต้องมีส่วนประกอบสำคัญคือ ชุดคำสั่งพิเศษที่ช่วยกำหนดขอบเขต ประเมินทางเลือกของปัญหา และประสานงานให้สมาชิกสามารถตัดสินใจในหาร่วมกัน หรือเรียกว่า ชุดคำสั่งสำหรับกลุ่ม

        เราจะเห็นว่า DSS , GDSS และระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารหรือ EIS (ซึ่งจะกล่าวถึงในบทต่อไป)ต่างเป็นระบบสารสนเทศที่มิใช่เพียงมีความสามารถในการจัดการข้อมูล เช่น ระบบ สารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานประจำวัน แต่จะมีส่วนช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารการปรานงานของระบบงานภายในองค์การ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวใหม่ของการดำเนินงานของธุรกิจในยุคสารสนเทศ

 
แบบฝึกหัดบทที่ 7
       1. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการและการตัดสินใจ
ตอบ การตัดสินใจเป็นหน้าที่และบทบาทหลักสำคัญของผู้บริหาร การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จหรือประสมความล้มเหลวในการดำเนินกิจการต่าง ๆ นับว่ามีส่วนขึ้นอยู่กับองค์การตัดสินใจ การเลือกโอกาส หรือแก้ปัญหาของผู้บริหารเป็นสำคัญ ผู้บริหารที่สมารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ย่อจะสามารถนำพาองค์การให้ปฏิบัติงานด้วนดีและประสบความสำเร็จ
       2. เราสามารถจำแนกการตัดสินใจภายในองค์การออกเป็นอีกระดับ อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจภายในองค์การแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
        1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์(Strategic Decision Making) เป็นการตัดสินใจองผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งจะให้ความสนใจต่อนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขี้น
       2. การตัดสินจะดับยุทธวิธี(Tactical Decision Making) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลางโดยที่การตัดสินใจระดับนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการจัดการ เพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง
        3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational Decision making) หัวหน้าระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตดสินใจในระดับนี้
3. เราสามารถแบ่งกระบวนการตัดสินใจออกเป็นอีกขั้นตอน อะไรบ้าง
ตอบ กระบวนการตัดสินใจออกเป็น 3 ขั้นตอน
         1. การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence)
         2. การออกแบบ (Design)
         3. การคัดเลือก (Choice)
4. การตัดสินใจมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ การตัดสินใจมี 3 ประเภท
         1. การตัดสินใจแบบมีโครงสร้าง (Structured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเป็นกิจวัตร โดยการตัดสินใจประเภทนี้จะมีหลักเกณฑ์ และขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้อย่างชันเจน
        2. การตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Decision) เป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ
         3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงการ (Semistructred Decision ) เป็นการตัดสินใจที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจทั้ง 2 ประเภท

5. การตัดสินใจภายใต้ความไม่แน่นอน และการตัดสินใจแบบไม่มีโครงสร้าง มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
        ตอบ การเปลี่ยนแปลง การแข่งขันและผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการประกอบธุรกิจทำให้ผู้บริหารต้องสามารถตัดสินใจในปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงขององค์การที่ต้องเผชิญกับปัญหาที่หลากหลายซับซ้อน และไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจนจึงต้องนำต้องพยายามนำหลักการ เทคนิค และเครื่องมือต่าง ๆ มาประยุกต์ เพื่อช่วยในการตัดสินใจถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเทคโนโยลีสารสนเทศได้เข้ามีมีบทบาทสำคัญในการช่วยแก้ปัญหาของธุรกิจ โดยเฉพาะช่วยสร้างความแน่นอนความเชื่อถือได้ และพัฒนาประสิทธิภาพในการตัดสนใจในปัญหาที่มีโครสร้างน้อยและไม่มีโครงสร้างให้สูงขึ้น
6. จงอธิบายความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
      7. DSS มีส่วนประกอบอะไรบ้าง จงอธิบายอย่างละเอียด
ตอบ 1. อุปกรณ์ เป็นส่วนประกอบแรกและโครงสร้างพื้นฐานของ DSS โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
        อุปกรณ์ประมวลผล
        อุปกรณ์สื่อสาร
       อุปกรณ์แสดงผล DSS
     2.ระบบการทำงาน ระบบการทำงานเป็นส่วนประกอบหลักของ DSS เพราะถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการที่จะทำให้ DSS ทำงานได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งระบบการทำงานจะประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญดังนี้
              - ฐานข้อมูล
              - ฐานแบบจำลอง
              - ระบบชุดคำสั่งของ DSS
   3.ข้อมูล โดยที่ข้อมูล DSS ที่เหมาะสมที่จะมีลักษณะดังนี้
-          มีปริมาณพอเหมาะแก่การนำไปใช้
-          มีความถูกต้องและทันสมัยในระดับที่เหมาะสมกับความต้องการ
-         สามารถนำไปใช้ได้สะดวก รวดเร็ว และครบถ้วน
-          มีความยืดหยุ่น และสามารถนำมาจัดรูปแบบเพื่อการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
  4.บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากบุคลากรจะต้องเกี่ยวข้องกับ DSS ตั้งแต่การกำหนดปัญหาและความต้องการ การพัฒนา การออกแบบและการใช้ DSS สามารถแบ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องออกเป็น 2 กลุ่ม
           - ผู้ใช้
           - ผู้สนับสนุน
      8. การพัฒนา DSS มีความเหมือนหรือแตกต่างจาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการประเภทอื่นอย่างไร
ตอบ DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติการที่แลกเปลี่ยน เก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลคือ DSS จะจัดการเก็บข้อมูลให้ป็นสารสนเทศที่เหมาะสมกับการตัดสินใจของผู้ใช้ โดย DSS จะใช้ข้อมูลที่ประมวลผลจากกระบวนการปฏิบัติการมาจัดระเบียบ และวิเคราะห์ตามคำสั่งและความสนใจของปัญหานอกจากนี้ DSS ยังช่วยเร่งพัฒนาการและความเข้าใจในศักยภาพการทำงานของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุม มากกว่าปฏิบัติงานประจำวัน
     9. ปัจจุบันองค์การสามารถพัฒนา DSS อย่างไร
ตอบ 1. การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) ขั้นตอนแรกในการพัฒนา DSS โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะกำหนดถึงปัญหา ตลอดจนวิเคราะห์หาขั้นตอนที่สำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหานั้น ๆ โดยผู้ที่จะใช้ระบบสมควรที่จะมีส่วนรวมในขั้นตอนนี้เป็นอย่างยิ่ง
         2. การออกแบบ (System Design) จะเป็นระบบสารสเทศที่มีความพิเศษในตัวเองที่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อย ๆ ผู้ออกแบบควรจะออกแบบให้ระบบมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับตัวได้ตามความเหมาะสม
         3. การนำไปใช้ (Implemrntaion) DSS จะแตกต่างจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการโดยทั่วไป ที่ผู้ใช้จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบจากแรกเริ่มต้นจนถึงสภาวะปัจจุบัน และจะพัฒนาต่อไปในอนาคต
10. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่ม (GDSS)
ตอบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับกลุ่มคือ เป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการตัดสินใจของกลุ่ม การที่ GDSS จะถูกนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ
               - อุปกรณ์
               - ชุดคำสั่ง
               - บุคลากร
ประโยชน์ของ GDSS
1. ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2.มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3.สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4.สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5.มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6.ช่วยในการประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7.มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด















 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น