วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายทบที่ 14 แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สรุปบทที่ 14

        การดำเนินชีวิตในสังคมสารสนเทศจะมีการพัฒนา และนำเทคโนโลยีระดับสูงมาสนับสนุนการทำงานและการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยนี้จะพัฒนารวดเร็วกว่าสมันอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมมาก ข้อมูลและข่าวสารจะมีการเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วและอิสระ พรมแดนทางการเมืองจะลดความสำคัญลงเมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจการค้าที่ขยายตัวสู่ระดับโลกในที่สุด ประชาชนจะมีความเป็นอิสระในการรับรู้ข่าวสารและแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีทางเลือกในการตัดสินใจมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบริการขยายตังเพิ่มรองรับความต้องการที่แตกต่างของลูกค้า ในขณะที่องค์การต่าง ๆ จะมีการปรับโครงสร้างและขั้นตอนการทำงาน โดยที่หลายหน่วยงานมีการลดขนาดลง บางหน่วยงานศึกษาถึงการปรับตัวให้มีขนาดที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการรื้อปรับระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินงานแข่งขันกับธุรกิจอื่นอย่างคล่องตัว
        ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถมองข้ามหรือปล่อยให้หัวหน้างาน หรือหน่วยงานสารสนเทศดุแลรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบาย และการใช้งานเทคโนโลยีเพียงฝ่ายเดียวประกอบกับการกระจายตัวของการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในหน่วยงานต่างๆ ทำให้สมาชิกในองค์การมีความคุ้นเคย และเข้าใจศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นจึงต้องมีการกำหนดทิศทางการจัดการเทคโนโลยีร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับการเริ่มต้นและส่งเสริมจากผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นผู้บริหารจึงต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่มีต่อองค์การ โดยติดตามข่าวสารข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี นอกจากนี้การจัดตั้งคณะกรรมการสารสนเทศขององค์การจากบุคคลหลายกลุ่ม จะช่วยให้การกำหนดนโยบายด้านสารสนเทศขององค์การมีความชัดเจน แน่นอน และถูกต้อง

 
แบบฝึกหัดบทที่ 14
      1. จงยกตัวอย่างของการปรับองค์การในยุคสารสนเทศ
        ตอบ - องค์กรขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์กรขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
                - มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนแปลงหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
               - ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
      2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อการปรับโครงสร้างหรือการรื้อปรับระบบขององค์การอย่างไร
ตอบ กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตของสังคมที่ถูกผลักดันด้วนเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืนการผลิตและการตลาดต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต
      3. ผู้บริหารสมควรจะเตรียมความพร้อมในการนำองค์การเข้าคู่ยุคสารสนเทศอย่างไร
ตอบ 3.1 ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การละอนาคต
          3.2 พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และกำลังจะเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน แลแนวการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
          3.3 เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
4. เทคโนโลยีที่มีผลต่อการดำเนินงานขององค์การมีอะไรบ้าง
ตอบ  - การปรับปรุงรูปแบบการทำงานขององค์การ
          - การสนับสนุนการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์
         - เครื่องมือในการทำงาน
           - การเพิ่มผลผลิตของงานโดยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
           - เทคโนโลยีในติดต่อการสื่อสาร
5. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีผลต่อการดำเนินงานองค์การอย่างไร
ตอบ โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะนี้มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดชุดคำสั่ง (Reduced Instruction Set Computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์และการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ สมหลักเหตุผลของมนุษย์หรืระบบปัญญาประดิษฐ์
6. เทคโนโลยี RISC มีผลต่อพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ในอนาคตอย่างไร
 ตอบ    ใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้รวดเร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ
7. จงอธิบายความหมายและประโยชน์ในการใช้งานของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์                       
  ตอบ  ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ทางด้านรูปภาพ และข้อมูลทางภูมิศาสตร์มาจัดแผนที่ในบริเวณที่สนใจ GIS สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินกิจการต่างๆ เช่น การวางแผนยุทธศาสตร์ การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น การวางแผนทางการตลาด การบริหารการขนส่ง การสำรวจและวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติ การช่วยเหลือแลกู้ภัย เป็นต้น
8. เหตุใดผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นหัวใจสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ
ตอบ  เพราะผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบาย กำหนดกลยุทธ์ วางแผนต่าง ๆ ในบริษัท และผู้บริหารก็ต้องมความเข้าใจในเทคโนโลยีอีกด้วยเพื่อที่จะไปพัฒนาบริษัทให้ดีขึ้น
9. ปัจจุบันคนไทยมีความพร้อมในการก้าวไปสู่สังคมสารสนเทศเพียงไร โดยเฉพาะความรู้และความเข้าใจในศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ตอบ    - ทำความเข้าใจต่อบาบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อธุรกิจปัจจุบัน
                - ระบบสารสนเทศเกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลขององค์การ
                - วางแผนที่จะสร้างและพัฒนาระบบ
10.จงยกตัวอย่างปัญหาด้านจริยธรรมหรือความรับผิชอบต่อสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
      ตอบ   การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวข้องกับจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่นดารไหลเวียนของข้อมูลผ่านขอบเขตตัวของพนังงาน การทุจริตหรือฉ้อโกงในระบบเครือข่าย การก่อการร้ายหรืหารจารกรรม เป็นต้น




แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 13 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


สรุปบทที่13

ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญ ที่จะช่วยให้องค์การมีความได้เปรียบคู่แข่งขัน ซึ่งพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึงเป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้า ข้อมูล และการบริการ การโฆษณาผ่านอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
           การทำงานค้าบนโลกอินเตอร์เน็ตมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากการค้าขายทั่ว ๆ ไป ทำให้พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไป ดังต่อไปนี้
       - การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
       - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน 
       - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
       - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
       - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
       - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
       - โครงข่ายเศรษฐกิจ
       - การเสริมภาพลักษณ์อันดี
การที่องค์การจะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งาน เพื่อช่วยสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจนั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยด้านต่าง ๆ ทั้งข้อดีข้อเสีย ทั้งนี้เพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นซึ่งข้อเสียของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก สามารถประหยัดเวลาและต้นทุนในการรับส่งสินค้ากับบริการ และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
ส่วนหลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างจากหลักการตลาดทั่วไป ซึ่งเรียกว่า หลัก หารตลาด 6Ps ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการขาย การักษาความเป็นส่วนตัวและการให้บริการแบบเจาะจง อีกทั้งยังพบปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่างๆ ในการดำเนินงานของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่า รัฐบาลควรมีมาตรการดำเนินการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างรีบด่วน เพื่อให้ผู้ที่ต้องการทำการค้าด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นใจ นอกจากนี้ต้องมีกฎหมายรัดกุมและต้องส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของไทยกับต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมความรู้ทางด้านสารสนเทศด้วย

 
แบบฝึกหัดบทที่ 13
1.จงอธิบายความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ตอบ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่นการซื้อขายสินค้า ข้อมูล และบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือการโอนเงินทาอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

2. เพราะเหตุใดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกเครื่องมือและกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญในการช่วยให้องค์การมีการได้เปรียบคู่แข่ง
ตอบ เพราะพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการดำเนินธุรกิจโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จึงทำให้ลดค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเช่าอาคาร ค่าจ้างพนักงานขาย เป็นต้น จึงช่วยในองค์กรลดต้นทุนในการผลิตลง
3. ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำแนกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ ประเภทของพาณิชย์อิกทรอนิกส์ จำแนก 4 ประเภท
               1. ธุรกิจกับธุรกิจ(Business to Business B2B ) เป็นการดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกันหรือระดับต่างกัน
               2. ธุรกิจกับผู้บริโภค(Business to ConsumerB2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ในรูปแบบที่ผู้บริโภคสามารถสอบถามข้อมูลและเลือกสินค้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
               3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government B2G) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ธุรกิจที่ทำธุรกรรมกับหน่วยงานราชการจะติดตามข้อมูลข่าวสสารและประมวลการจัดหาสินค้า หรือโครงการต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
               4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to ConsumerC2C) เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค มีการพูดคุยเป็นการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขานสินค้าในรูปแบบการประมูลสินค้า
4. พาณิชอิเล็กทรอนิกส์มีข้อแตกต่างไปจากการดำเนินธุรกิจทั่วไปอย่างไร
    ตอบ - การเพิ่มประสิทธิภาพละประสิทธิผล
             - การตอบสนองเพื่อการแข่งขัน
             - การให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
             - การควบคุมและปฏิสัมพันธ์ได้ด้วยตนเอง
             - การสร้างร้านค้าเสมือนจริง
             - การติดตามพฤติกรรมของผู้บริโภค
             - โครงข่ายเศรษฐกิจ
             - การส่งเสริมภาพลักษณ์อันดี
5. หลักการตลาดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย อะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ 1. ผลิตภัณฑ์ (Product) สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องตามความต้องการของลูกค้าทั้งด้านคุณภาพ รูปแบบ สีสัน และประโยชน์ใช้สอย รวมไปถึงตรายี่ห้อสินค้า
         2. ราคา (Price) การตั้งราคาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งสำคัญในการดึงดูดใจลูกค้าดังนั้นควรตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสมตลาดละผู้บริโภค
         3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) การหาทำเลที่ดีเป็นองค์ประกอบที่สามารถตัดสินได้ว่าธุรกิจจะรุ่งเรืองหรือไม่ แต่เว็บไซต์พาณิชอิเล็กทรอนิกส์ การหาทำเลเทียบได้กับการตั้งชื่อร้าน ศัพท์ทางอินเตอร์เน็ตเรียกว่า โดเมนเนม ดังนั้นทำเลการค้าทาอินเทอร์เน็ตจึงไม่ได้หมายถึงที่ตั้งของร้าน การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงควรเลือกชื่อที่จดจำได้ง่าย และสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์
         4. การส่งเสริมการขาย (Promotion) กระบวนการที่จะทำให้สินค้าได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อลูกค้า หรือแม้แต่การโฆษณาชวนชื่อด้วยการลด แลก แจก และแถมสินค้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง
         5. การรักษาความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือการเก็บข้อมูลความเป็นส่วนตัวของลูกค้า เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัตรเครดิตหรืออีเมล์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับเว็บไซ์ ดังนั้นผู้ดูแลเว็บไซ์จึงจเป็นต้องสร้างระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ว่าข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกจรรกรรมออกไปได้ ในส่วนตัวผู้ขายเองนั้น ก็จะต้องระบุนโยบายเกี่ยวกับการรักษาความเป็นส่วนตังของลูกค้าคือ Privacy Policy ให้ชัดเจนบนเว็บไซ์ และปฏิบัติตามกฎนั้นอย่างเคร่องครัด
        6. การให้บริการแบบเจาะจง (Personalization)เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทำให้เว็บไซ์สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าแต่ละคนได้ และสามารถให้บริการแบบเจาะจงกับลูกค้าแต่ละรายได้ สามารถเข้าใจพฤติกรรม หรือความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทำให้สามารถนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการแบบเจาะจงบุคคล และสามารถสร้างสินค้าและบริการจากพื้นฐานความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลจริง ๆ
6. จงยกตัวอย่างข้อดีของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
ตอบ - สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เป็นจำนวนมากจากทั่วทุกมุมโลก
         - สามารถจัดหาสินค้าและบริการจากผู้จำหน่ายแหล่งต่าง ๆ ได้โดยตรงและรวกเร็ว
         - สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการสื่อสารเนื่องจากคุณประโยชน์อินเตอร์เน็ต
         - องค์กรที่มีขนานเล็กสามารรถดำเนินธุรกิจแข่งขันกับองค์การที่มีขนาดใหญ่ได้
         - สามารถสร้างผลประกอบการที่เป็นกำไรเพิ่มมากขึ้น
7. จงยกตัวอย่างข้อเสียของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
    ตอบ - มาตรฐานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ผ่านทางฟังก์ชันระบบงาน สอบถาม กระทู้ สนทนา หรือแม้แต่ห้องสนทนา
             - ตัวบทกฎหมายในบางมาตราและด้านภาษียังไม่ได้รับกาปรับปรุงให้มีความเหมาะสม
             - นโยบายของเกี่ยวกับกฎเกณฑ์และมาตรฐานต่าง ๆ ยังไม่สอดคล้องและเหมาะสม
             - ผู้ขายและผู้ซื้อยังมีความกังวลด้านความปลอดภัยของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์
             - ลูกค้ายังไม่เชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เนื่องจากไม่สามารถมองเห็นและจับต้องสินค้าได้
             - ลูกค้าบางส่วนยังชอบวิธีการสั่งซื้อสินค้าและบริการในลักษณะแบบเห็นหน้าตากัน
8. ปัญหาที่พบในการดำเนินงานของระบบพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีอะไรบ้าง
ตอบ  - ความไม่ปลดอภัยของข้อมูล ในกรณีที่ลูกค้าใช้บัตรเครดิตในการซื้อสินค้าจากเว็บไซต์เจ้าของธุรกิจจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของลูกค้า ซึ่งนั่นอาจหมายถึงการเสียค่าใช้จ่ายมาขึ้น และการใช้วิธีที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนลูกค้าอาจจะต้องปวดหัวกับความยุ่งยาก จึงต้องมีการพัฒนาขั้นตอนต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น แต่มีความปลอดภัยสูงสุด
         - ในประเทศไทยยังขาดความสะดวกในเรื่องของพาณิชอิเล็กทรอนิกส์อยู่บางประการ เช่น การไม่มีธนาคารที่รองรับความเสี่ยงในการประกอบการชำระเงินจากพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
          - การที่ลูกค้าเกิดความไว้วางใจในการซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต และความลอดภัยของข้อมูลไม่มากเท่าที่ควร
          - รัฐบาลยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในการดูแลพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ที่เพียงพอในการควบคุมซื้อขายผ่านเว็บไซต์ทั้งรายใหญ่และรายย่อย
           - ลูกค้ายังขาดความรู้เรื่องกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอินเตอร์เน็ต ส่วนในกรณีที่ลูกค้าอยู่ต่างประเทศการบังคบใช้กฎหมายยังมีความสับสนว่าจะต้องใช้ของประเทศใดเป็นหล
















แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 12 เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ธุรกิจ


สรุปบทที่12

หัวใจสำคัญในการธำรงอยู่ขององค์กรธุรกิจคือ ธุรกิจต้องสามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างกลมกลืน และสามารถดำเนินการแข่งขันกับคู่แข่งขันอย่างมีประมิทธิภาพ แต่การเปลี่ยนแปลงรารวดเร็วและรุนแรงของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลให้องค์การธุรกิจต้องหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนการรักษาพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง และสามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงในสังคมซึ่งเราเรียกว่า การดำเนินการเชิงกลยุทธ์
ปัจจุบันเราสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ต่อองค์การในหลายระดับตั้งแต่การปฏิบัติงานประจำวัน การจัดทำและเสนอสารสนเทศแก่ผู้บริหาร จนกระทั่งถึงการดำเนินในระดับกลยุทธ์ขององค์การ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำใช้ในการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจ ตังอย่างเช่น
-     การกำหนดโครงสร้างและการดำเนินงานขององค์การใหม่
-     การสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างองค์การกับลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ และพันธมิตรธุรกิจ เป็นต้น
ผู้บริหารเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้องค์การประสบความก้าวหน้าหรืล้มเหลว ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงบทบาทสำคัญ นอกเหนือจาการสนับสนุนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศยังมีส่วนในการกำหนอกลยุทธ์ขององค์การ ดังนั้นถ้าผู้บริหารสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทคมประยุกต์ในการทำงานอย่างเหมาะสมแล้ว นอกจากจะสามารถสร้างผลงานให้แก่ตนเองแล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแก่องค์การด้วย
คำถามท้ายบทที่12
1.เหตุใดองค์การส่วนใหญ่จึงเริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศจากความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฎิบัติ งานมากกว่าความต้องการสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
ตอบ เพราะการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดีจะทำให้องค์การมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานต่างๆได้  และอาจจะทำให้องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ในด้านต่างๆ

2. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantaage) คืออะไร และเกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร
ตอบ ความได้เปรียบในการทำธุรกิจหนึ่ง ๆ จะพึงแสวงหาหรือทำให้เกิดขึ้นได้เหนือคู่แข่งขันทางธุรกิจของตน เพื่อประโยชน์และโอกาสในการแข่งขันในด้านการผลิตและการครอบครองตลาด และคอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาทเสริมความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ได้จึงจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงสภาพการแข่งขันทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเสียก่อน

3. องค์การจะสามารถธำรงรักษาความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะด้านสารสนเทศอย่างไร
ตอบ 1.ดำเนินการก่อน (First Mover) ธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันจากการผลิตสินค้า หรือให้บริการใหม่ แก่ลูกค้าก่อนคู่แข่ง
        2.ผู้นำด้านเทคโนโลยี (Technological Leadership) ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัย ใหม่โดยเฉพาะ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ เราจะพบว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มมีบทบาท ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ
        3.เสริมสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง (Continuous Innovation) การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจมี นวัตกรรมของ ผลิตภัณฑ์และ บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
4. จงอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์การ
ตอบ โครงสร้างขององค์การธุรกิจสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศขององค์การ  ซึ่งประกอบไปด้วยฐานข้อมูลต่าง ๆ  ขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ    

5. ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารกับเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเปรียบเทียบความแตกต่างในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา
ตอบ มีความคิดเห็นว่าผู้บริหารไทยไม่ด้อยกว่าต่างชาติ ขอเพียงแต่ผู้บริหารไทยศึกษาหาความรู้ในนวัตกรรมใหม่ๆ (New Innovation) และศึกษาการวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ

6. ผู้บริหารสมควรทำอย่างไรเพื่อให้ทราบความต้องการด้านสารสนเทศขององค์การในอีก 5 ปีข้างหน้า
ตอบ องค์การที่จะอยู่รอดและมีพัฒนาการต้องสามารถยู่ปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตเพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา                                  
7. จงอธิบายบทบาทของผู้บริหารระดับสูงที่มีต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ
ตอบ 1. ผู้บริหารต้องหาแนวทางในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการ เช่น วิศวกรรมคู่ขนาน (Concurrent Engineering) โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ (Computer Aided Design , CAD) ในการออกแบบ พัฒนาและตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมีคุณภาพ มีความทันสมัยและสอด คล้องความต้องการของลูกค้า ตลอดจนสนับสนุนการจัดโครงสร้างองค์การ ให้สามารถ ใช้ทรัพยากร ร่วมกัน และสอดคล้องกัน
         2. ผู้บริหารต้องส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการ ต่อเชื่อม ระหว่าง หน่วยงาน ทั้ง ภายในและภายนอกองค์การ เพื่อให้การสื่อสาราข้อมูลมีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และทั่วถึง ซึ่งจะทำให้ บุคคลเกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงาน ร่วมกัน อย่างมี ประสิทธิภาพและเกิดความ รู้สึกที่ดีต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจาก นี้ผู้บริหาร
        3.ผู้บริหารต้องวางแผน ความสำเร็จของการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานขององค์การธุรกิจ เกิดจากการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน ของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Infrastructure) ที่สอด คล้องกับสถานการณ์และกลยุทธ์ขององค์การ

8. เหตุใดองค์การจึงต้องกำหนดความต้องการก่อนหลังด้านสารสนเทศ
ตอบ เพื่อให้ทราบว่าองค์การต้องการอะไร เป้าหมายขององค์การเป็นอย่างไร เพื่อที่จะวางแผนและปฏิบัติงานให้ตรงตามเป้าหมาย
9. เราสามารถประเมินคุณภาพของการดำเนินการด้านสารสนเทศในแต่องค์การอย่างไร
  ตอบ - พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริงหรือไม่
           - พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
           - พิจารณาว่าเนื้อหาของสารสนเทศอยู่ในระดับใด
10. เหตุใดธุรกิจจึงต้องจัดตั้งคณะกรรมการด้านสารสนเทศขึ้นเพื่อทำการตัดสินใจในงานสำคัญด้านสารสนเทศขององค์การ
ตอบ เพราะจะได้บุคลากรที่มีความรู้ในงานเฉพาะด้าน และการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น